วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความหมาย ประเภทและชนิดของประโยค

ความหมายของประโยค 
     ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น 

ส่วนประกอบของประโยค 
     ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้ 

     1. 
ภาคประธาน 
ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้ อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น 

     2. 
ภาคแสดง 
ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ
...........................................................................................

ชนิดของประโยค
     ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้ 

     1. ประโยคความเดียว 
     ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น 

เช่น ฉันไปซือของที่ตลาดยิ่งเจริญ
หมายเหตุ:สังเกตง่ายๆ ประโยคความเดียวจะมี "คำกริยา เพียง 1ตัวในประโยค เท่านั้น"

     2. 
ประโยคความรวม 
     ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 


     2.1 ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบ ด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ 
ตัวอย่าง 
• 
ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์ 
• 
ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม 
• 
ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา 
• 
พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย 
สันธานที่ใช้ใน ประโยค ได้แก่ และทั้ง – และแล้วก็พอ – แล้วก็ 

หมายเหตุ คำ แล้ว” เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง 

     2.2 ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น 
ตัวอย่าง 
• 
พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน 
• 
ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ 

     2.3 
ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง 
ตัวอย่าง 
• 
ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง 
• 
คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล 

     2.4 
ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล 
ตัวอย่าง 
• 
เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ 
• 
คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ 


ข้อสังเกต 
• สันธานเป็นคำเชื่อมที่จ้ำเป็นต้องมีประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด 
• 
สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น – จึงทั้ง – และแต่ – ก็ สันธานชนิดนี้เรียกว่า สันธานคาบมักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี 
• 
ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้ 


     3. 
ประโยคความซ้อน 

     ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก(มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก(อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค 
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้ 

     3.1 
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อม 

ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม 
• 
คนทำดีย่อมได้รับผลดี 
คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก 
คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน 

• 
ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน 
ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก 
นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม 

     3.2 
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย 
ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย 

• 
คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิต 
ที่ประพฤติ ขยายประธาน คน 
คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก 
- (
คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย 

• 
ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา 
ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน 
ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก 

- (บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย
 
     3.3 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย 

ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยายวิเศษณ์ 

• 
เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน 
เขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก 
(
เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา 
 
• 
ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก 
ครูรักศิษย์ : ประโยคลัก 
แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน
) 
.................................................................................................................

หน้าที่ของประโยค 
      ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น ลักษณะ ดังนี้ 

      1. การ
บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ 
เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานทำกริยา อะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ เช่น 
ฉันไปพบเขามาแล้ว 
เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ 

     2. การ
ปฏิเสธ 

เป็นประโยคมีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ มิใช่ ใช่ว่า ประกอบอยู่ด้วยเช่น 
เรา ไม่ได้ ส่งข่าวถึงกันนานแล้ว 
นั่น มิใช่ ความผิดของเธอ 

     3. การ
ถามให้ตอบ 
เป็นประโยคมีเนื้อความเป็นคำถาม จะมีคำว่า หรือ ไหม หรือไม่ ทำไม เมื่อไร ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร อยู่หน้าประโยคหรือท้ายประโยค เช่น 
เมื่อคืนคุณไป ที่ไหน มา 
เธอเห็นปากกาของฉันไหม 

     4. การ
บังคับ ขอร้อง และชักชวน 
เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ ขอร้อง และชักชวน โดยมีคำอนุภาค หรือ คำเสริมบอกเนื้อความของประโยค เช่น 
ห้าม เดินลัดสนาม 
กรุณา พูดเบา 

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ลักษณะสำคัญของภาษาไทย



ลักษณะสำคัญของภาษาไทย
          ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยพระโหราธิบดี ได้แต่งตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก ชื่อ จินดามณี ขึ้น ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงธรรมการได้พิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่โดยย่อจากตำราสยามไวยากรณ์ จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปะสาร ได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์แต่งตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทยที่สมบูรณ์และเป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะที่สำคัญของภาษาไทย มีดังนี้
          ๑. ภาษาไทยเป็นคำโดด คือ คำไทยแต่ละคำมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองและใช้ได้อย่างอิสระโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปศัพท์ เช่น พ่อ แม่ สูง ต่ำ เป็นต้น
          ๒. คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว คือ เป็นคำที่มีความหมายเข้าใจได้ทันที เช่น โอ่ง ไห ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ส่วนคำไทยแท้ที่มีหลายพยางค์มีสาเหตุมาจาก
                   ๒.๑ การปรับปรุงศัพท์ด้วยการลงอุปสรรคแบบไทย คือ การเพิ่มเสียงหน้าศัพท์ เช่น
                             ชิด       —-       ประชิด
                             ทำ       
—-       กระทำ
                             ลูกดุม  
—-       ลูกกระดุม
                   ๒.๒ การกลายเสียง เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของภาษา เช่น เสียงกร่อน
                             หมากม่วง          —-        มะม่วง
                             หมากพร้าว      
—-        มะพร้าว
                             สายเอว            
—-        สะเอว
                             ต้นไคร้             
—-        ตะไคร้
          ๓. คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น คำที่เกี่ยวกับการต่อสู้ ได้แก่
                             แม่กก  —-       ชก ศอก กระแทก โขก ผลัก
                             แม่กด 
—-       กัด ฟัด รัด อัด กอด ฟาด อัด
                             แม่กบ 
—-       ตบ ทุบ งับ บีบ จับ กระทืบ ถีบ
                             แม่กง  
—-       ถอง พุ่ง ดึง เหวี่ยง ทึ้ง
                             แม่กน 
—-       ชน ยัน โยน ดัน
                             แม่กม 
—-       โถม ทิ่ม รุม ทุ่ม
                             แม่เกย
—-       เสย ต่อย
                             แม่เกอว
—-     เหนี่ยว น้าว
          ๔. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์นี้จะทำให้คำมีระดับเสียงและความหมายต่างกัน เช่น
                             คา ค่า ค้า                     เขา เข่า เข้า
                             นำ น่ำ  น้ำ                    เสือ เสื่อ เสื้อ
          ๕. ภาษาไทยมีการสร้างคำเพื่อเพิ่มความหมายให้มากขึ้น การเพิ่มคำในภาษาไทยมีหลายลักษณะ เช่น การประสมคำ คำซ้อน คำซ้ำ คำสมาส คำสนธิ ศัพท์บัญญัติ คำแผลง เป็นต้น
          ๖. การเรียงคำในประโยค การเรียงคำในประโยคของภาษาไทยนั้นสำคัญมาก เพราะถ้าเรียงคำในประโยคสลับกันจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
                             พ่อให้เงินผมใช้
                             พ่อให้ใช้เงินผม
                             พ่อให้ผมใช้เงิน
          ๗. คำขยายในภาษาไทยมักจะเรียงอยู่หลังคำที่ถูกขยาย เช่น
                             แม่ไก่สีแดง
                             เรือลำใหญ่แล่นช้า
          ๘. คำไทยมีคำลักษณนาม มีหลักการใช้ดังนี้
                   ๘.๑ ใช้ตามหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับที่เป็นตัวเลข เช่น
                                        นักเรียน ๑๐ คน
                                        แมว ๒ ตัว
                   ๘.๒ ใช้ตามหลังคำนามเพื่อบอกลักษณะคำนามที่อยู่ข้างหน้า เช่น
                                        หนังสือเล่มนั้นใครซื้อให้
                                        นกฝูงนี้มาจากไซบีเรีย
          ยกเว้น การใช้ว่า เดียวแทนจำนวนนับ ๑ หน่วย ซึ่งจะอยู่หลังลักษณนาม เช่น
                                       ฉันเลี้ยงแมวไว้ตัวเดียว
                                       เขากินข้าวจานเดียว
          ๙. ภาษาไทยมีวรรคตอนในการเขียนและการพูด เพื่อกำหนดความหมายที่ต้องการสื่อสาร หากแบ่งวรรคตอนการเขียนผิดหรือพูดเว้นจังหวะผิด ความหมายก็จะเปลี่ยนไป เช่น
                                       อาหาร อร่อยหมดทุกอย่าง
                                       อาหารอร่อย หมดทุกอย่าง
          ๑๐. ภาษาไทยมีระดับการใช้ ระดับของภาษาแบ่งได้ดังนี้
                   ๑๐.๑ ระดับพิธีการ                  ใช้ในพิธีการสำคัญต่างๆ
                   ๑๐.๒ ระดับทางการ                 ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ (ภาษาทางการ)
                   ๑๐.๓ ระดับกึ่งทางการ               ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ แต่ลดระดับโดยการใช้ภาษาสุภาพและเป็นกันเองมากขึ้น
                   ๑๐.๔ ระดับสนทนา                  ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยทั่วไป
          ๑๐.๕ ระดับกันเอง                             ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการกับเพื่อนสนิท สามารถใช้ภาษาพูดหรือภาษาคะนอง