การประเมินคุณค่างานเขียน
คุณค่าของงานประพันธ์
งานประพันธ์ หมายถึง งานที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยใช้ภาษาที่สละสลวยถ่ายทอดให้เป็นเรื่องราว มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
การรู้จักเลือกอ่านงานประพันธ์ที่มีคุณค่า และรู้จักอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์จะช่วยเพิ่มพูนประโยชน์ ทั้งยังจะได้ความรู้ความคิดที่ได้จากเรื่องที่อ่าน นำมาพัฒนาตนเองให้มีบุคลิกภาพที่ดีได้
องค์ประกอบของงานประพันธ์ ประกอบ ด้วย เนื้อหา + รูปแบบ งานประพันธ์ที่มีเนื้อหาและรูปแบบเหมาะสมกันจะจัดเป็นวรรณคดี ถ้าเรื่องใดไม่ถึงขั้นเป็นวรรณคดีก็จะเรียกว่า วรรณกรรรม
องค์ประกอบของงานประพันธ์ ประกอบ ด้วย เนื้อหา + รูปแบบ งานประพันธ์ที่มีเนื้อหาและรูปแบบเหมาะสมกันจะจัดเป็นวรรณคดี ถ้าเรื่องใดไม่ถึงขั้นเป็นวรรณคดีก็จะเรียกว่า วรรณกรรรม
เนื้อหา หมายถึง เรื่องราวที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นจากจินตนาการ จากประสบการณ์ จากความรู้สึก
รูปแบบ หมายถึง ลักษณะรวมของประเภทงานประพันธ์ที่ผู้แต่งใช้ อาจเป็นนิราศ เป็นโคลง เป็นลิลิต อาจเป็นร้อยแก้ว ซึ่งมีทั้งสารคดี และบันเทิงคดี เช่น เป็นเรื่องสั้น
การพิจารณาคุณค่าของงานประพันธ์
แยกพิจารณาดังต่อไปนี้
๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
ประเภทร้อยกรอง งานเขียนประเภทนี้จะได้ชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ที่ดีได้ ผู้
ประพันธ์ควรเลือกใช้รูปแบบที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีกลวิธีการแต่งที่น่าสนใจ
ใช้ถ้อยคำไพเราะสละสลวย ให้อารมณ์สะเทือนใจ
และให้สารที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นงานประพันธ์ที่มีความงามทางด้านภาษา
๑.๑ ประเภทร้อยแก้ว ที่เป็นเรื่องสั้นหรือนวนิยาย งานเขียนประเภทนี้จะได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมาก จะมีลักษณะดังนี้
๑.๑ ประเภทร้อยแก้ว ที่เป็นเรื่องสั้นหรือนวนิยาย งานเขียนประเภทนี้จะได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมาก จะมีลักษณะดังนี้
๑.๑.๑ แก่นเรื่องสัมพันธ์กับโครงเรื่องและตัวละคร
๑.๑.๒ มีกลวิธีการประพันธ์ที่แปลกใหม่น่าสนใจ
๑.๑.๓ ในเรื่องมีจุดขัดแย้งที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
๑.๑.๔ ภาษาที่ใช้บรรยายและพรรณนาสละสลวยให้นึกเห็นภาพ
๑.๑.๕ คำพูดเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตัวละคร
๑.๑.๖ ให้สารที่มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับชีวิตและสังคม
๒. คุณค่าด้านสังคม
งานประพันธ์ที่ดีจะสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ ค่านิยม และจริยธรรมของคนในสังคมที่งานประพันธ์ได้จำลองภาพไว้
มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือจริยธรรมของสังคม และมีส่วนช่วยจรรโลงหรือพัฒนาสังคมด้วย
ความงามในภาษา
ถ้อยคำภาษาทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง จะมีคุณค่าแห่งความงดงามอยู่ในตัว หากผู้ถ่ายทอดสามารถสร้างสรรค์ได้อย่างประณีต ตามลักษณะของรูปแบบและฉันทลักษณ์ ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้
ความงามของคำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต สรุปลักษณะดังนี้
๑. ต้องใช้ภาษาถูกต้องตามกฎของไวยากรณ์
๒. มีการตกแต่งภาษาดี เมื่ออ่านหรือฟังแล้วมองเห็นภาพตามไปด้วย เรียกว่ามี อลังกา
๓. มีการใช้ถ้อยคำที่ดี คือมีเสียงไพเราะ และมีความหมายบริบูรณ์ เรียกว่ามีความโศภา
องค์ประกอบของความงามในภาษาไทยดูได้ที่
๑. ถ้อยคำ เป็นสัญลักษณ์ของความคิด การใช้ถ้อยคำจะต้องมีค่าในการสื่อสาร จะต้องใช้ถ้อยคำให้ตรงกับความรู้สึก
นึกคิดของตน และมีความหมายแก่ผู้อ่านให้ใกล้ภาพในใจของผู้ประพันธ์มากที่สุด
๒. เสียง เสียงในภาษาทำให้เกิดความงามได้ ๓ ลักษณะ คือ
๒.๑ เสียงวรรณยุกต์ กวีนิยมเล่นเสียงวรรณยุกต์เพื่อให้เกิดความไพเราะ เช่น จะจับจองจ่องจ้องสิ่งใดนั้น
ดูสำคัญคั่นคั้นอย่างันฉงน
๒.๒ เสียงสัมผัส หมายถึง เสียงที่คล้องจองกัน มี ๒ อย่างคือ สัมผัสพยัญชนะกับสัมผัสสระ เช่น
ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
๒.๓ เสียงหนักเบา ผู้อ่านต้องรู้จักทอดเสียง เน้นเสียงหนักเบาที่คำบางคำเพื่อทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงรสไพเราะของเนื้อความ
๓. ความหมาย คือความคิดสำคัญที่มีอยู่ในถ้อยคำ การที่เราจะมองเห็นความงามในภาษา เราจะต้องเข้าใจความหมายในถ้อยคำหรือข้อความเสียก่อน
๔. การเรียบเรียงถ้อยคำ การเรียบเรียงถ้อยคำต้องให้ถูกต้องตามระเบียบของภาษา จึงจะสื่อความหมายได้แจ่มแจ้ง ก่อให้เกิดความงามในภาษาควรปฏิบัติดังนี้
๔.๑ เรียงคำขยายไว้หลังคำที่ถูกขยาย
๔.๒ เว้นวรรคตอนให้ถูกต้องจะช่วยสื่อความหมายได้ชัดเจน
หากเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำแบบร้อยกรอง ควรจะมีลักษณะดังนี้
ก. ใช้ถ้อยคำทำให้เกิดภาพและเกิดความรู้สึกตรงตามจินตนาการของกวี
ข. ใช้คำที่มีเสียงสูงต่ำดุจดนตรี
ค. เสนอสารที่ให้ข้อคิดที่ลึกซึ้ง
ง. ใช้ถ้อยคำบรรยายหรือพรรณนา ที่ทำให้เกิดความสะเทือนอารมณ์
๕. การใช้กวีโวหาร และสำนวนโวหาร
กวีโวหาร มักใช้กับวรรณคดีร้อยกรอง
สำนวนโวหาร ใช้กับวรรณคดีร้อยแก้ว
กวีจะใช้กวีโวหาร หรือสำนวนโวหาร เพื่อสร้าง “ภาพในจิต” หรือ “จินตภาพ” (ภาพที่ปรากฏในจินตนาการ) ซึ่งอาจจะกล่าวอย่างตรงไปตรงมาหรือเป็นโวหารภาพพจน์ก็ได้
โวหาร
ภาพพจน์ หมายถึง
ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างไม่ตรงไปตรงมาแต่ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจและรู้สึก
ประทับใจยิ่งกว่าการใช้คำบอกเล่าธรรมดา
โวหารภาพพจน์ มีหลายวิธี คือ
๕.๑ อุปมาอุปไมย เป็นการเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนสิ่งหนึ่ง เช่น ขาวเหมือนหยวก
๕.๒ อุปลักษณ์ เป็นการเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งหนึ่ง เช่น โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ
๕.๓ บุคลาธิษฐาน สมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นบุคคล เช่น ทะเลไม่เคยหลับ
๕.๔ สัญลักษณ์ ใช้คำแทนไม่กล่าวถึงสิ่งนั้นโดยตรง เช่น
“อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า มาถนอม” ดอกฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งสูงค่า เกินที่จะได้เป็นเจ้าของ
๕.๕ การกล่าวน้อย แต่กินความมาก หมายถึง กล่าวคำที่มีเจตนาจะสื่อความหมายให้กว้าง เช่น
“อันของสูงแม้นปองต้องจิต ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ”
๕.๖
ปฏิพากย์ (ขัดแย้ง) คือ การใช้คำ หรือ ความคิดที่ขัดแย้งกัน
แต่นำมาใช้รวมกัน เป็นการกล่าวโดยขัดแย้งกับความจริง
แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่าเป็นความจริง เช่น
เด็กคือบิดาของผู้ใหญ่, คนขลาดตายไปแล้วหลายครั้งก่อนจะตาย
๕.๗ อธิพจน์ (กล่าวเกินจริง) มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญชี้ให้เห็นชัดเจน ใช้เพื่อแสดงอารมณ์อย่างรุนแรง เช่น คิดถึงใจจะขาด คอแห้งเป็นผง ปวดหัวจนจะระเบิด ฯลฯ
การประเมินค่าวรรณกรรม
งานประพันธ์ที่มีคุณค่าต่อตนเอง
งานประพันธ์ที่มีคุณค่าต่อตนเอง หมาย
ความว่า งานประพันธ์นั้น ๆ อ่านแล้วได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้มากหรือได้น้อยหากได้ประโยชน์มากต้องได้ทั้งความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง
จากสาร ทั้งทางด้านวรรณศิลป์และสังคม นอกจากนั้นยังได้ข้อคิดคติเตือนใจ เพื่อจะได้นำไปใช้ปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิตต่อไป
งานประพันธ์ที่มีคุณค่าต่อสังคม
งานประพันธ์ที่มีคุณค่าต่อสังคม หมาย
ความว่า ความรู้หรือความคิดที่ส่งออกมา
หากคนในสังคมได้อ่านได้รับรู้ก็มีผลให้นำไปช่วยกันพัฒนาสังคม แก้ปัญหาสังคม
หรือเกิดความละอายที่จะทำผิด ทำชั่วจึงละหรืองดเว้น
ก็จะทำให้สังคมมีความเจริญมีความสุขสงบขึ้น
ใน
การอ่านหรือศึกษางานประพันธ์ที่เป็นสารคดีหรือบันเทิงคดี
ตลอดทั้งงานประพันธ์อื่น ๆ ผู้เรียนมีแนวปฏิบัติในการจดบันทึกย่อสิ่งต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
๑. ความหมายของชื่อเรื่อง
๒. เนื้อเรื่องย่อ
๓. แนวคิดที่สำคัญของเรื่อง
๔. ความรู้ที่เราได้รับ
๕. ข้อคิด คติเตือนใจ
๖. เรื่องนี้มีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไรบ้าง
เกณฑ์การประเมินค่าวรรณกรรม
งานเขียนที่จะมีลักษณะดีเป็นเลิศได้นั้น จะมีความเด่น ๗ ประการ คือ
๑. ดี คือไม่ผิดศีลธรรม ไม่ชักนำให้ผู้อ่านเห็นผิดเป็นชอบ
๒. มีแง่งาม คืองามด้วยคำ ด้วยเสียง ด้วยเรื่องราว ด้วยภาพพจน์ ด้วยการลำดับเรื่อง ด้วยการวาดลักษณะตัวละคร ฯลฯ
๓. มีความเที่ยงธรรม วรรณกรรม
ที่มีคุณค่าผู้เขียนจะต้องมีความซื่อสัตย์ เที่ยงตรง ไม่ใส่ร้ายป้ายสี
หรือยกยอเมื่อรักเมื่อชอบไม่บิดเบือนชักพาเข้าสู่ผลประโยชน์ของตน
๔.
มีความสำคัญ วรรณกรรมที่ดีต้องกล่าวถึงเรื่องราวที่มีความสำคัญน่าสนใจ
ไม่ควรเสนอเรื่องหยุมหยิม ไม่มีน้ำหนัก ไม่น่าเชื่อถือ
ควรเสนอสิ่งแปลกใหม่น่าทึ่งน่านำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารและต่อ
สังคม
๕. เป็นสิ่งจำเป็น เรื่องราวบางอย่าง บางคนอาจจะมองข้าม เห็นเป็นเรื่องไม่สำคัญ วรรณกรรมที่ดีจะชี้ให้หันมามองสิ่งจำเป็นที่คนส่วนมากมองข้าม
๖.
มีประโยชน์ วรรณกรรมที่ดีจะต้องเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่น
ให้คติชีวิต ให้ข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ ให้ความคิดที่ลึกซึ้ง
ให้ทัศนคติที่ใหม่กว้างขวางขึ้น ให้ความเพลิดเพลิน
๗. มีค่านิยมสูง คือจะช่วยยกระดับ อุดมการณ์ของบุคคล ของสังคม หรือของชาติได้ ให้เห็นว่าสิ่งใดดีที่สุด หรือเลวที่สุดในชีวิต
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
การ
อ่านงานเขียนโดยทั่วไปนั้น ใช่ว่าเราจะอ่านเพื่อให้ได้ความรู้
หรือบันเทิงเพียงอย่างเดียว เมื่อเราอ่าน ต้องรู้จักคิด
พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณต้องอาศัยการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน
ผนวกกับการประเมินค่าเรื่องที่เราอ่านอีกขั้นหนึ่ง คือ
สามารถวิจารณ์เรื่องนั้น แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์ถ้อยคำ
ประโยค วิเคราะห์ทรรศนะของผู้แต่งและเนื้อหาได้
๑. การวิเคราะห์ถ้อยคำ
๑.๑ ความหมายโดยตรง
หมายถึงคำที่มีในพจนานุกรม ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ปาก หมายถึง
ช่องสำหรับกินอาหาร ขอบช่องของสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากไห ปากทาง ฯลฯ
๑.๒ ความหมายโดยนัย หมายถึงคำที่มีความหมายซ่อนเร้น ต้องตีความหมายตามสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ของสังคม หรือสภาพแวดล้อมผู้พูด หรือถ้อยคำ เช่น กิน - โกง ทำทุจริต กินดินกินทราย แมงดา - ชายที่เกาะโสเภณีกิน , อกหัก- ผิดหวังอย่างไม่คาดคิด
๑.๓ ความหมายตามบริบท หมายถึง คำที่มีความหมายขึ้นกับข้อความรอบข้าง เช่น
๑.๒ ความหมายโดยนัย หมายถึงคำที่มีความหมายซ่อนเร้น ต้องตีความหมายตามสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ของสังคม หรือสภาพแวดล้อมผู้พูด หรือถ้อยคำ เช่น กิน - โกง ทำทุจริต กินดินกินทราย แมงดา - ชายที่เกาะโสเภณีกิน , อกหัก- ผิดหวังอย่างไม่คาดคิด
๑.๓ ความหมายตามบริบท หมายถึง คำที่มีความหมายขึ้นกับข้อความรอบข้าง เช่น
คำว่า ขัน ดังตาราง
ไก่ขันแต่เช้า
|
พูดจาน่าขัน
|
เขาหยิบขันมา ๑ ชุด
|
เธอขันน็อตให้แน่นหน่อยสิ
|
บางคำเช่นคำว่า ขอหอมหน่อย อาจแปลได้ว่า ขอต้นหอม หรือ ขอจูบแก้ม เป็นต้น
|
๒. การวิเคราะห์ประโยค
การวิเคราะห์ประโยค คือ การพิจารณาการใช้และเรียบเรียงคำ ข้อความในประโยคว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น
การพิจารณา
|
ตัวอย่าง
|
ควรแก้เป็น
|
๒.๑ เขียนประโยคไม่สมบูรณ์
|
เรือนร่างและความสมบูรณ์ของท่าน ท่านเป็นคนที่ผอม แต่ไม่ผอมเกินไป ทำให้มีค่านิยมในตัวท่านมาก
|
ท่านเป็นบุคคลที่มีรูปร่างสันทัด ไม่ผอมหรืออ้วนเกินไป ทำให้มีค่านิยมในตัวท่านมาก
|
นางสาวชลิตา อิ่มเต็ม ม.๕/๓ เลขที่ ๑๖
ตอบลบ