วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ลักษณะสำคัญของภาษาไทย



ลักษณะสำคัญของภาษาไทย
          ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยพระโหราธิบดี ได้แต่งตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก ชื่อ จินดามณี ขึ้น ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงธรรมการได้พิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่โดยย่อจากตำราสยามไวยากรณ์ จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปะสาร ได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์แต่งตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทยที่สมบูรณ์และเป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะที่สำคัญของภาษาไทย มีดังนี้
          ๑. ภาษาไทยเป็นคำโดด คือ คำไทยแต่ละคำมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองและใช้ได้อย่างอิสระโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปศัพท์ เช่น พ่อ แม่ สูง ต่ำ เป็นต้น
          ๒. คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว คือ เป็นคำที่มีความหมายเข้าใจได้ทันที เช่น โอ่ง ไห ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ส่วนคำไทยแท้ที่มีหลายพยางค์มีสาเหตุมาจาก
                   ๒.๑ การปรับปรุงศัพท์ด้วยการลงอุปสรรคแบบไทย คือ การเพิ่มเสียงหน้าศัพท์ เช่น
                             ชิด       —-       ประชิด
                             ทำ       
—-       กระทำ
                             ลูกดุม  
—-       ลูกกระดุม
                   ๒.๒ การกลายเสียง เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของภาษา เช่น เสียงกร่อน
                             หมากม่วง          —-        มะม่วง
                             หมากพร้าว      
—-        มะพร้าว
                             สายเอว            
—-        สะเอว
                             ต้นไคร้             
—-        ตะไคร้
          ๓. คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น คำที่เกี่ยวกับการต่อสู้ ได้แก่
                             แม่กก  —-       ชก ศอก กระแทก โขก ผลัก
                             แม่กด 
—-       กัด ฟัด รัด อัด กอด ฟาด อัด
                             แม่กบ 
—-       ตบ ทุบ งับ บีบ จับ กระทืบ ถีบ
                             แม่กง  
—-       ถอง พุ่ง ดึง เหวี่ยง ทึ้ง
                             แม่กน 
—-       ชน ยัน โยน ดัน
                             แม่กม 
—-       โถม ทิ่ม รุม ทุ่ม
                             แม่เกย
—-       เสย ต่อย
                             แม่เกอว
—-     เหนี่ยว น้าว
          ๔. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์นี้จะทำให้คำมีระดับเสียงและความหมายต่างกัน เช่น
                             คา ค่า ค้า                     เขา เข่า เข้า
                             นำ น่ำ  น้ำ                    เสือ เสื่อ เสื้อ
          ๕. ภาษาไทยมีการสร้างคำเพื่อเพิ่มความหมายให้มากขึ้น การเพิ่มคำในภาษาไทยมีหลายลักษณะ เช่น การประสมคำ คำซ้อน คำซ้ำ คำสมาส คำสนธิ ศัพท์บัญญัติ คำแผลง เป็นต้น
          ๖. การเรียงคำในประโยค การเรียงคำในประโยคของภาษาไทยนั้นสำคัญมาก เพราะถ้าเรียงคำในประโยคสลับกันจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
                             พ่อให้เงินผมใช้
                             พ่อให้ใช้เงินผม
                             พ่อให้ผมใช้เงิน
          ๗. คำขยายในภาษาไทยมักจะเรียงอยู่หลังคำที่ถูกขยาย เช่น
                             แม่ไก่สีแดง
                             เรือลำใหญ่แล่นช้า
          ๘. คำไทยมีคำลักษณนาม มีหลักการใช้ดังนี้
                   ๘.๑ ใช้ตามหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับที่เป็นตัวเลข เช่น
                                        นักเรียน ๑๐ คน
                                        แมว ๒ ตัว
                   ๘.๒ ใช้ตามหลังคำนามเพื่อบอกลักษณะคำนามที่อยู่ข้างหน้า เช่น
                                        หนังสือเล่มนั้นใครซื้อให้
                                        นกฝูงนี้มาจากไซบีเรีย
          ยกเว้น การใช้ว่า เดียวแทนจำนวนนับ ๑ หน่วย ซึ่งจะอยู่หลังลักษณนาม เช่น
                                       ฉันเลี้ยงแมวไว้ตัวเดียว
                                       เขากินข้าวจานเดียว
          ๙. ภาษาไทยมีวรรคตอนในการเขียนและการพูด เพื่อกำหนดความหมายที่ต้องการสื่อสาร หากแบ่งวรรคตอนการเขียนผิดหรือพูดเว้นจังหวะผิด ความหมายก็จะเปลี่ยนไป เช่น
                                       อาหาร อร่อยหมดทุกอย่าง
                                       อาหารอร่อย หมดทุกอย่าง
          ๑๐. ภาษาไทยมีระดับการใช้ ระดับของภาษาแบ่งได้ดังนี้
                   ๑๐.๑ ระดับพิธีการ                  ใช้ในพิธีการสำคัญต่างๆ
                   ๑๐.๒ ระดับทางการ                 ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ (ภาษาทางการ)
                   ๑๐.๓ ระดับกึ่งทางการ               ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ แต่ลดระดับโดยการใช้ภาษาสุภาพและเป็นกันเองมากขึ้น
                   ๑๐.๔ ระดับสนทนา                  ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยทั่วไป
          ๑๐.๕ ระดับกันเอง                             ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการกับเพื่อนสนิท สามารถใช้ภาษาพูดหรือภาษาคะนอง

7 ความคิดเห็น:

  1. ๓ณัฐริกา ประภาสัย 5/3

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขยันมาเรียนให้เหมือนกับขยันเข้าบล็อกหน่อยนะครับ

      ลบ
  2. นางสาวแพรพรรณ สำแดงฤทธิ์ ม.5/1 เลขที่ 32

    ตอบลบ
  3. นางสาวกนกวรรณ ศรีวินัย ม.๕/๓ ๕

    ตอบลบ
  4. นางสาวชลิตา อิ่มเต็ม ม.๕/๓ เลขที่ ๑๖

    ตอบลบ
  5. นางสาวปิรัตดาพร สายทอง ชั้นม.5/3 เลขที่ 9

    ตอบลบ
  6. นางสาว สุกัญญา โคษาราช เลขที่10 ม.5/3

    ตอบลบ